02 มกราคม 2551

สรุปบทที่ 6-8

บทที่ 6 Domain name system (DNS)

โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.net ย่อมาจาก Network สำหรับหน่วยงานที่มีเครือข่ายของ ตนเองและทำธุรกิจด้านเครือข่าย
การขอจดทะเบียนโดเมน
การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน
การขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ
1.การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล(.com.edu.int.org.net)ต้องขอจดทะเบียนกับwww.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net
2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net
โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย
.ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
.co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
.go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
.net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
.or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป
DHCP มาจาก Dynamic Host Configuration Protocol ซึ่งทำหน้าที่จ่าย IP ให้แก่เครื่องลูก (clients) โดยอัตโนมัติ สำหรับเน็ตเวอร์ที่มีเครื่องลูกหลายเครื่อง การกำหนด IP ให้แต่ละเครื่องบางครั้งก็ยากในการจดจำ ว่ากำหนด IP ให้ไปเป็นเบอร์อะไรบ้างแล้ว พอมีเครื่องเพิ่มเข้ามาในเน็ตเวอร์กใหม่ ต้องกลับไปค้น เพื่อจะ assign เบอร์ IP ใหม่ไม่ให้ซ้ำกับเบอร์เดิม DHCP Server จะทำหน้าที่นี้แทน โดยเครื่องลูกเครื่องไหนเปิดเครื่อง ก็จะขอ IP มายัง DHCP Server และ DHCP Server ก็จะกำหนด IP ไปเครื่องลูกเอง โดยไม่ซ้ากัน
LDAP เป็นโปรโตคอลใช้สำหรับติดต่อกับ ไดเรกทอรีเซอร์วิส (Directory Service) อยู่ในระดับแอปพลิเคชัน เลเยอร์ทำงานอยู่บนโปรโตคอล TCP/IP มาตรฐาน LDAP ให้คำจำกัดความทั้ง 4 รูปแบบ ซึ่งแนะนำให้คุณได้ใช้ directory ซึ่งรูปแบบมีการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่าง การติดตั้ง directory ในขณะที่คุณสามารถจะตัดไปยัง directory ที่คุณ ต้องการเฉพาะได้ ซึ่งแนะนำผู้พัฒนา directory เมื่อลูกค้า และผู้ใช้ software มีการออกแบบ และกำลังปฏิบัติการLDAP LDAP จะมี APIs:ใช้โปรแกรม ภาษา C ใช้ได้กับ netcape's java SDK ,sunsoft’s JNDI และ Microsoft active Directory Service interface(ADSI) การเปลี่ยนแปลงข้อมูลของLDAP(LDIF) เป็นมาตรฐาน รูปแบบตัวอักษรสำหรับอธิบายในข้อมูล directory LDIF สามารถอธิบายการสร้าง directory หรือปรับปรุงเพื่อประยุกต์ใช้กับ directory ข้อมูล ใน directoryสามารถส่งออก จากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง โดยใช้ LDIF โดยทั่วไปมักใช้ได้กับคำสั่งซึ่งจะมีประโยชน์ทั้งอ่านและเขียน LDIF
บทที่ 7 อีเมล์และโปโตคอลของอีเมล์
อีเมล์ คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้ติดต่อสื่อสารกันในระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถส่งได้รวดเร็ว ประหยัด และถูกต้องที่สุด ซึ่งผู้ที่ติดต่อกันแต่ละคนจะต้องมีตู้รับจดหมายคนละกล่อง ซึ่งเรียกว่า อีเมล์แอดเดรส ที่อยู่อีเมล์ หรือ (อีเมล์แอดเดรส) นั้น สำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดปลายทาง ซึ่งจดหมายที่ส่งมาจะถูกเก็บไว้ที่ Inbox ของแต่ละที่อยู่ ดังตัวอย่างของอีเมล์แอดเดรสต่อไปนี้ tumiko@yahoo.com อีเมล์แอดเดรสถูกออกแบบเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 คำว่า tumiko คือ ชื่อของสมาชิก หรือ ชื่อผู้ใช้บริการอีเมล์ ซึ่งชื่อนี้เกิดจากการตั้งขึ้นใหม่อาจจะเป็นชื่อเล่นหรือชื่อจริง ในการตั้งชื่อนี้ต้องไม่ซ้ำกัน นักเรียนต้องคิดด้วยว่า ในโลกนี้ยังมีคนที่มีชื่อซ้ำกับเราหรือไม่ เช่น tom, boy , top เป็นต้น ซึ่งสามารถแก้ปัญหาโดยการเติมตัวเลขต่อท้ายใหม่ เช่น tommy445 , boy44 , top654 เป็นต้น
ส่วนที่ 2 เครื่องหมายคั่น @ คือเครื่องหมาย แอดไซน์
ส่วนที่ 3 เป็นชื่อของศูนย์ที่ให้บริการอีเมล์
POP 3 (Post Office Protocol 3) คือ ชื่อเรียกวิธีการรับและส่ง E-mail อย่างหนึ่งจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้โปรแกรมอ่านเมล์ (E-mail Client) เช่น Microsoft Outlook express , Eudora , Pegasus ฯลฯ ในการรับส่งและส่ง E-mail หลักการทำงานของ E-mail POP 3 คือ จดหมายจะถูกส่งจากผู้ที่ต้องการส่งจดหมายมาถึงเราแล้วถูกเก็บไว้ใน Mail Serverจนกระทั่งเราเชื่อมต่อเข้ากับ Server ด้วยโปรแกรม E-mail Client เพื่อที่จะรับ E-mail หลังจากนั้น mail ก็จะถูกส่งจาก Server ลงมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ตั้งไว้สำหรับรับ mail
SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) เป็นโปรโตคอล ของ TCP/IP ใช้ในการส่งและรับ E-mail แต่ SMTP มีความจำกัดในด้านแถวคอย (Queue) ของ message ในด้านรับ ตามปกติจะใช้ร่วมกับโปรโตคอลอื่นอีกตัว เช่น POP3 หรือ Internet Message Access Protocol เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเก็บเมล์ไว้ใน server mailbox และ ดาวน์โหลดจาก server ในอีกความหมาย คือ SMTP ใช้สำหรับการส่งเมล์ของผู้ใช้ และ POP3 หรือ IMAP ใช้สำหรับเมล์แล้ว เก็บไว้ในเครื่องแม่ข่าย โปรแกรม E-mail ส่วนใหญ่ เช่น Eudora ให้ผู้ใช้ระบุได้ทั้ง SMTP server และ POP Server บนระบบ UNIX การส่งเมล์ใช้ SMTP server ส่วนแพ็คเกตการส่งเมล์เชิงพาณิชย์ได้รวม POP server
IMAP4 จะมีการทำงานในแบบที่เรียกว่า Online Model ผสานกับ Disconnected Model กล่าวคือ การจัดการและการ Process E-mail ทั้งหมดจะถูกจัดการที่ Server เพียงอย่างเดียว Client มีหน้าที่เพียงแค่อ่าน E-mail หรือส่งคำสั่งไป Process E-mail บน Server เท่านั้น แบบนี้มีข้อดีก็คือท่านสามารถอ่าน E-mail จากที่ใดก็ได้ เนื่องจาก E-mail จะถูกเก็บอยู่ใน Server เสมอ และจะมีสถานะบอกด้วยว่า E-mail ฉบับใดมาใหม่ ฉบับใดมีการอ่านหรือตอบกลับไปแล้ว แต่ข้อเสียก็คือ Server จะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง และในระหว่างการอ่านหรือ Process E-mail เครื่อง Client จะต้องเชื่อมต่อกับ Server ตลอดเวลา ดังนั้นจึงทำงานได้ช้ากว่าแบบ POP
บทที่ 8 การรับส่งไฟล์และระบบไฟล์
FTP (File Transfer Protocol)FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คำสั่งนี้ม ีใช้งานอยู่ในเครือข่ายของ TCP/IP ทั่วไป และเมื่อมีการให้บริการในลักษณะของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้น การให้บริการ FTP จึงกลายมาเป็นบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ตไปด้วย โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่จะให้บริการ FTP หรือเรียกว่า FTP Server ซึ่งบรรจุไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ไว้ ผู้ใช้ที่อยู่ทั่วทุกมุมโลก จะสามารถใช้คำสั่ง FTP ผ่านอินเตอร์เน็ตเข้ามายังเซิฟเวอร์เหล่านี้เพื่อทำการโอนหรือคัดลอกไฟล์ข้อมูล เหล่านี้ไป (เหตุที่ใช้คำว่า "คัดลอก" ก็เพราะในทางปฏิบัติจริง ๆ แล้ว ไฟล์ต้นทางก็ยังอยู่อย่างเดิม ในขณะที่ทางเครื่อง ของเราซึ่งเป็นปลายทางจะได้ข้อมูลที่เหมือนกับต้นทางขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง แต่การทำงานของ FTP จะต่างจากการ คัดลอกหรือ copy ไฟล์ทั่ว ๆ ไปบนระบบเครือข่ายก็คือ การทำ FTP จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและรัดกุมกว่า เหมาะ กับระบบเครือข่ายที่ต่อกันในระยะไกล ๆ เช่น ผ่านสายโทรศัพท์หรือระบบโทรคมนาคมอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสเกิดความ ผิดพลาดต่าง ๆ ได้มากกว่าในเครือข่ายที่เป็น LAN) โดยทั่วไปไฟล์ที่เก็บอยู่บน Host ที่เชื่อมกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะแบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่ Freeware, Shareware และ Commercialware

ไม่มีความคิดเห็น: