27 กุมภาพันธ์ 2551

FTP

เครื่อง ของเราซึ่งเป็นปลายทางจะได้ข้อมูลที่เหมือนกับต้นทางขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง แต่การทำงานของ FTP จะต่างจากการ คัดลอกหรือ copy ไฟล์ทั่ว ๆ ไปบนระบบเครือข่ายก็คือ การทำ FTP จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและรัดกุมกว่า เหมาะ กับระบบเครือข่ายที่ต่อกันในระยะไกล ๆ เช่น ผ่านสายโทรศัพท์หรือระบบโทรคมนาคมอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสเกิดความ ผิดพลาดต่าง ๆ ได้มากกว่าในเครือข่ายที่เป็น LAN) โดยทั่วไปไฟล์ที่เก็บอยู่บน Host ที่เชื่อมกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะแบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่ Freeware, Shareware และ CommercialwareFTP (File Transfer Protocol)FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คำสั่งนี้ม ีใช้งานอยู่ในเครือข่ายของ TCP/IP ทั่วไป และเมื่อมีการให้บริการในลักษณะของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้น การให้บริการ FTP จึงกลายมาเป็นบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ตไปด้วย โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่จะให้บริการ FTP หรือเรียกว่า FTP Server ซึ่งบรรจุไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ไว้ ผู้ใช้ที่อยู่ทั่วทุกมุมโลก จะสามารถใช้คำสั่ง FTP ผ่านอินเตอร์เน็ตเข้ามายังเซิฟเวอร์เหล่านี้เพื่อทำการโอนหรือคัดลอกไฟล์ข้อมูล เหล่านี้ไป (เหตุที่ใช้คำว่า "คัดลอก" ก็เพราะในทางปฏิบัติจริง ๆ แล้ว ไฟล์ต้นทางก็ยังอยู่อย่างเดิม ในขณะที่ทาง

02 มกราคม 2551

สรุปบทที่ 6-8

บทที่ 6 Domain name system (DNS)

โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.net ย่อมาจาก Network สำหรับหน่วยงานที่มีเครือข่ายของ ตนเองและทำธุรกิจด้านเครือข่าย
การขอจดทะเบียนโดเมน
การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน
การขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ
1.การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล(.com.edu.int.org.net)ต้องขอจดทะเบียนกับwww.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net
2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net
โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย
.ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
.co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
.go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
.net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
.or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป
DHCP มาจาก Dynamic Host Configuration Protocol ซึ่งทำหน้าที่จ่าย IP ให้แก่เครื่องลูก (clients) โดยอัตโนมัติ สำหรับเน็ตเวอร์ที่มีเครื่องลูกหลายเครื่อง การกำหนด IP ให้แต่ละเครื่องบางครั้งก็ยากในการจดจำ ว่ากำหนด IP ให้ไปเป็นเบอร์อะไรบ้างแล้ว พอมีเครื่องเพิ่มเข้ามาในเน็ตเวอร์กใหม่ ต้องกลับไปค้น เพื่อจะ assign เบอร์ IP ใหม่ไม่ให้ซ้ำกับเบอร์เดิม DHCP Server จะทำหน้าที่นี้แทน โดยเครื่องลูกเครื่องไหนเปิดเครื่อง ก็จะขอ IP มายัง DHCP Server และ DHCP Server ก็จะกำหนด IP ไปเครื่องลูกเอง โดยไม่ซ้ากัน
LDAP เป็นโปรโตคอลใช้สำหรับติดต่อกับ ไดเรกทอรีเซอร์วิส (Directory Service) อยู่ในระดับแอปพลิเคชัน เลเยอร์ทำงานอยู่บนโปรโตคอล TCP/IP มาตรฐาน LDAP ให้คำจำกัดความทั้ง 4 รูปแบบ ซึ่งแนะนำให้คุณได้ใช้ directory ซึ่งรูปแบบมีการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่าง การติดตั้ง directory ในขณะที่คุณสามารถจะตัดไปยัง directory ที่คุณ ต้องการเฉพาะได้ ซึ่งแนะนำผู้พัฒนา directory เมื่อลูกค้า และผู้ใช้ software มีการออกแบบ และกำลังปฏิบัติการLDAP LDAP จะมี APIs:ใช้โปรแกรม ภาษา C ใช้ได้กับ netcape's java SDK ,sunsoft’s JNDI และ Microsoft active Directory Service interface(ADSI) การเปลี่ยนแปลงข้อมูลของLDAP(LDIF) เป็นมาตรฐาน รูปแบบตัวอักษรสำหรับอธิบายในข้อมูล directory LDIF สามารถอธิบายการสร้าง directory หรือปรับปรุงเพื่อประยุกต์ใช้กับ directory ข้อมูล ใน directoryสามารถส่งออก จากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง โดยใช้ LDIF โดยทั่วไปมักใช้ได้กับคำสั่งซึ่งจะมีประโยชน์ทั้งอ่านและเขียน LDIF
บทที่ 7 อีเมล์และโปโตคอลของอีเมล์
อีเมล์ คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้ติดต่อสื่อสารกันในระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถส่งได้รวดเร็ว ประหยัด และถูกต้องที่สุด ซึ่งผู้ที่ติดต่อกันแต่ละคนจะต้องมีตู้รับจดหมายคนละกล่อง ซึ่งเรียกว่า อีเมล์แอดเดรส ที่อยู่อีเมล์ หรือ (อีเมล์แอดเดรส) นั้น สำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดปลายทาง ซึ่งจดหมายที่ส่งมาจะถูกเก็บไว้ที่ Inbox ของแต่ละที่อยู่ ดังตัวอย่างของอีเมล์แอดเดรสต่อไปนี้ tumiko@yahoo.com อีเมล์แอดเดรสถูกออกแบบเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 คำว่า tumiko คือ ชื่อของสมาชิก หรือ ชื่อผู้ใช้บริการอีเมล์ ซึ่งชื่อนี้เกิดจากการตั้งขึ้นใหม่อาจจะเป็นชื่อเล่นหรือชื่อจริง ในการตั้งชื่อนี้ต้องไม่ซ้ำกัน นักเรียนต้องคิดด้วยว่า ในโลกนี้ยังมีคนที่มีชื่อซ้ำกับเราหรือไม่ เช่น tom, boy , top เป็นต้น ซึ่งสามารถแก้ปัญหาโดยการเติมตัวเลขต่อท้ายใหม่ เช่น tommy445 , boy44 , top654 เป็นต้น
ส่วนที่ 2 เครื่องหมายคั่น @ คือเครื่องหมาย แอดไซน์
ส่วนที่ 3 เป็นชื่อของศูนย์ที่ให้บริการอีเมล์
POP 3 (Post Office Protocol 3) คือ ชื่อเรียกวิธีการรับและส่ง E-mail อย่างหนึ่งจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้โปรแกรมอ่านเมล์ (E-mail Client) เช่น Microsoft Outlook express , Eudora , Pegasus ฯลฯ ในการรับส่งและส่ง E-mail หลักการทำงานของ E-mail POP 3 คือ จดหมายจะถูกส่งจากผู้ที่ต้องการส่งจดหมายมาถึงเราแล้วถูกเก็บไว้ใน Mail Serverจนกระทั่งเราเชื่อมต่อเข้ากับ Server ด้วยโปรแกรม E-mail Client เพื่อที่จะรับ E-mail หลังจากนั้น mail ก็จะถูกส่งจาก Server ลงมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ตั้งไว้สำหรับรับ mail
SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) เป็นโปรโตคอล ของ TCP/IP ใช้ในการส่งและรับ E-mail แต่ SMTP มีความจำกัดในด้านแถวคอย (Queue) ของ message ในด้านรับ ตามปกติจะใช้ร่วมกับโปรโตคอลอื่นอีกตัว เช่น POP3 หรือ Internet Message Access Protocol เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเก็บเมล์ไว้ใน server mailbox และ ดาวน์โหลดจาก server ในอีกความหมาย คือ SMTP ใช้สำหรับการส่งเมล์ของผู้ใช้ และ POP3 หรือ IMAP ใช้สำหรับเมล์แล้ว เก็บไว้ในเครื่องแม่ข่าย โปรแกรม E-mail ส่วนใหญ่ เช่น Eudora ให้ผู้ใช้ระบุได้ทั้ง SMTP server และ POP Server บนระบบ UNIX การส่งเมล์ใช้ SMTP server ส่วนแพ็คเกตการส่งเมล์เชิงพาณิชย์ได้รวม POP server
IMAP4 จะมีการทำงานในแบบที่เรียกว่า Online Model ผสานกับ Disconnected Model กล่าวคือ การจัดการและการ Process E-mail ทั้งหมดจะถูกจัดการที่ Server เพียงอย่างเดียว Client มีหน้าที่เพียงแค่อ่าน E-mail หรือส่งคำสั่งไป Process E-mail บน Server เท่านั้น แบบนี้มีข้อดีก็คือท่านสามารถอ่าน E-mail จากที่ใดก็ได้ เนื่องจาก E-mail จะถูกเก็บอยู่ใน Server เสมอ และจะมีสถานะบอกด้วยว่า E-mail ฉบับใดมาใหม่ ฉบับใดมีการอ่านหรือตอบกลับไปแล้ว แต่ข้อเสียก็คือ Server จะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง และในระหว่างการอ่านหรือ Process E-mail เครื่อง Client จะต้องเชื่อมต่อกับ Server ตลอดเวลา ดังนั้นจึงทำงานได้ช้ากว่าแบบ POP
บทที่ 8 การรับส่งไฟล์และระบบไฟล์
FTP (File Transfer Protocol)FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คำสั่งนี้ม ีใช้งานอยู่ในเครือข่ายของ TCP/IP ทั่วไป และเมื่อมีการให้บริการในลักษณะของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้น การให้บริการ FTP จึงกลายมาเป็นบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ตไปด้วย โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่จะให้บริการ FTP หรือเรียกว่า FTP Server ซึ่งบรรจุไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ไว้ ผู้ใช้ที่อยู่ทั่วทุกมุมโลก จะสามารถใช้คำสั่ง FTP ผ่านอินเตอร์เน็ตเข้ามายังเซิฟเวอร์เหล่านี้เพื่อทำการโอนหรือคัดลอกไฟล์ข้อมูล เหล่านี้ไป (เหตุที่ใช้คำว่า "คัดลอก" ก็เพราะในทางปฏิบัติจริง ๆ แล้ว ไฟล์ต้นทางก็ยังอยู่อย่างเดิม ในขณะที่ทางเครื่อง ของเราซึ่งเป็นปลายทางจะได้ข้อมูลที่เหมือนกับต้นทางขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง แต่การทำงานของ FTP จะต่างจากการ คัดลอกหรือ copy ไฟล์ทั่ว ๆ ไปบนระบบเครือข่ายก็คือ การทำ FTP จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและรัดกุมกว่า เหมาะ กับระบบเครือข่ายที่ต่อกันในระยะไกล ๆ เช่น ผ่านสายโทรศัพท์หรือระบบโทรคมนาคมอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสเกิดความ ผิดพลาดต่าง ๆ ได้มากกว่าในเครือข่ายที่เป็น LAN) โดยทั่วไปไฟล์ที่เก็บอยู่บน Host ที่เชื่อมกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะแบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่ Freeware, Shareware และ Commercialware

26 ธันวาคม 2550

สรุปบทที่ 2-3

บทที่2 โปรโตคอลและ IP Address

โปรโตคอล คือระเบียบวิธีการที่กำหนดขึ้นสำหรับสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้ถูกต้อง Connectionless คือมีการส่งข้อมุลที่เร็ว แต่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น จดหมาย อีเมลล์
Connection-oriented คือมีการส่งข้อมูลที่ช้า แต่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า เช่น โทรศัพท์ Fax
IP Address ถูกกำหนดขึ้นมาให้เป็นหมายเลขอ้างอิงประจำตัวของอุปกรณ์ต่างๆที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการกำหนด IP Address ให้แต่ละเครื่องหรืออุปกรณ์นี้จะต้องไม่ซ้ำกัน ซึ่ง IP Address
นี้จะไม่ผูกติดกับตัวฮาร์ดแวร์แต่อย่างใดจึงสามารถกำหนดใหม่หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เช่น รหัสนักศึกษา
รหัสบัตรต่างๆ ที่อยุ่ แตกต่างจาก MAC Address ซึ่งเป็นหมายเลขประจำตัวของอุปกรณ์ที่ต่ออยุ่ในเครือข่ายค่าMAC Address จะถูกกำหนดจากบริษัทผู้ผลิตตั้งแต่เริ่มผลิตเช่นอุปกรณ์ Network Interfece Card
จะมีค่า MAC Address ประจำตัวที่ไม่ซ้ำกันและไม่สามารถแก้ไขได้ เหมือนกับ เลขบัตรประชาชนของเรา

บทที่3 โครงสร้างของโปรโตคอล TCP/IP

โปรโตคอล TCP/IP มีการจัดแบ่งกลไกการทำงานออกเป็นชั้นๆหรือ layer เหมือนกับมาตราฐาน OSI model และสามารถเทียบเคียงกับมาตรฐานของ OSI model ได้ ซึ่งแต่ละ layer ของโปรโตคอล TCP/IP จะประกอบด้วย
- Process layer หรือ Application Layer
- Host-to-Host layer หรือ Transport Layer
- Internetwork layer
- Network Interface layer

06 ธันวาคม 2550

โปรโตรคอล

1.โปรโตคอล HTTP
โปรโตคอล HTTP พัฒนาโดย W3C และ Internet Engineering Taskforce เป็นโปรโตคอลมาตรฐานตาม RFC2616 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสารข้อมูลบนระบบ WWW โดยมีจุดประสงค์เพื่อรับส่งข้อมูลประเภท HTMLHTTP เป็นโปรโตคอลทำงานในรูปแบบ Request/Response Message ระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอ็นต์ ซึ่งฝั่งไคลเอ็นต์จะเริ่มต้นการติดต่อโดยทำการเปิด TCP ไปยังเซิร์ฟเวอร์ซึ่งรัน HTTP อยู่เช่น พอร์ต 80 โดยเซิร์ฟเวอร์ได้ทำการรันเซอร์วิส ซึ่งอยู่ในสถานะ Listening และพร้อมทำการตอบรับ หลังจากนี้จะมีการแลกเปลี่ยน Request/Response Message กันระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอ็นต์โปรโตคอล HTTP ออกแบบมาเพื่อรับส่งข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text) แต่ระบบสามารถรับรองการส่ง Binary ได้เช่นกันโดยการกำหนด Content-Type และ Content-transfer-encoding
http://campus.en.kku.ac.th/project/2007/coe2007-03/archives/20

2.โปรโตคอล RARP (Reverse Address Resolution Protocol)
โปรโตคอล RARP จะมีการทำงานที่คล้ายคลึงกับโปรโตคอล ARP โดยจะทำงานในลักษณะตรงกันข้าม ด้วยการแปลงหมายเลขแมคแอดเดรสให้เป็นหมายเลขไอพี ซึ่งโปรโตคอล RARP นี้ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่ปราศจากดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ (Diskless Computer) ดังนั้นเวลาบูตเครื่องจึงจำเป็นต้องบูตจากระบบปฏิบัติการเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่าย โดยเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายจะจัดเก็บตารางความสัมพันธ์ระหว่างแมคแอดเดรสกับหมายเลขไอพี โฮสต์ที่ต้องการหมายเลขไอพีจะทำการบรอดแคสต์ RARP Query Packet ที่บรรจุฟิสิคัลแอดเดรสไปยังทุกๆ โฮสต์บนเครือข่าย จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายก็จะจัดการกับ RARP Packet ด้วยการตอบกลับไปด้วยหมายเลขไอพีไปยังโฮสต์นั้น

http://www.burapaprachin.ac.th/network/Page8011.htm

3.โปรโตคอล ICMP (Internet Control Message Protocol)
โปรโตคอล ICMP เป็นกลไกที่ใช้โดยเร้าเตอร์และโหนด เพื่อรายงานความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกลับไปยังโฮสต์ฝ่ายส่งรับทราบ โดยไอพีดาต้าแกรมที่ส่งไปยังเครือข่ายผ่านไปยังเร้าเตอร์ต่างๆ และเร้าเตอร์ไม่สามารถส่งข้อมูลเหล่านั้นไปยังปลายทางได้ เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้น เช่น ไม่พบโฮสต์ที่ปลายทาง ลิงก์เสียหาย หรือดาต้าแกรมหมดอายุขัย (TTL) โปรโตคอล ICMP นี้ก็จะดำเนินการแจ้งข่าวสารกลับไปให้ฝ่ายส่งรับทราบถึงปัญหาดังกล่าว โดยเมสเสจของ ICMP ที่แจ้งกลับไปเพื่อรายงานต่อฝ่ายส่งรับทราบ

http://www.burapaprachin.ac.th/network/Page8011.htm

วิเคราะห์ปัญหาของ IT กับธุรกิจของปัจจุบัน

ปัญหาทางด้าน IT ที่มีผลต่อ ธุรกิจในปัจจุบันพูดง่ายๆเลยในชีวิตประจำวันของเราจะมีการติดต่อ กับ เทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา เพราะเหตุนี้เอง เทคโนโลยีจึงมีผลมากในการดำรงชีวิต จนทำให้เกิดผลกระทบตามมาปกติแล้วบริษัทที่เป็นธุรกิจ ขนาดกลางและเล็ก หรือ เอสเอ็มอี ส่วนมาก เมื่อพูดถึงเรื่องการจะนำเอาระบบไอที เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ เจ้าของกิจการ มักถือเป็นเรื่องที่อยากจะหลีกเลี่ยง เมื่อได้รับการร้องขอจากพนักงาน เพราะบริษัทขนาดแบบนี้ มักไม่ค่อยมีเงินทุนมากพอ ที่จะตั้งแผนกไอทีขึ้น ภายในบริษัทของตัวเองได้ แม้ว่าบางบริษัทอาจพอมีผู้ที่รู้เรื่อง เกี่ยวกับไอทีอยู่บ้าง แต่พนักงานเหล่านั้น ก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญมากพอ ที่จะจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อน ของเทคโนโลยีขณะนี้ได้ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจมีความรุนแรงมากขึ้น ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ไม่มีความแน่นอน หลายบริษัทที่เป็นเอสเอ็มอี จำเป็นต้องมองหาทางออกในการต่อสู้กับบริษัทคู่แข่ง การลงทุนด้านไอทีเป็นเรื่องที่มีการพูดมานาน แต่ในประเทศไทยยังมีธุรกิจเอสเอ็มอีใช้ไอทีไม่มากนักแอพลิเคชันที่มีการใช้งานกันอยู่ทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบประชุมร่วมผ่านวิดีโอและการดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต มักมีการใช้งานพร้อมๆ กัน โดยจะมีผลทำให้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ลดลง ดังนั้น จึงควรเลือกพีซีที่มีสมรรถนะมากพอที่จะช่วยให้พนักงานทำงานหลายๆ งานพร้อมกันได้แบบมีประสิทธิภาพ ต้องมีความเสถียรสูง และมีระบบจัดการด้านความปลอดภัย ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม และทำงานร่วมกับระบบไอทีระบบเดิมได้ เพื่อช่วยให้เรียกใช้ข้อมูลเก่าๆ ได้ รวมทั้งระบบไอทีควรมีระบบแบ็คอัพข้อมูลที่ดี เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหายแต่ในความเป็นจริง สิ่งที่จะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานจะดี หรือรายได้จะเข้าบริษัทมากขึ้น วางแผนระบบไอทีแบบให้สอดคล้องกับธุรกิจ ไม่เช่นนั้น การลงทุนด้านไอที อาจกลายเป็นต้นเหตุของการขาดทุนแบบไม่ได้ตั้งใจได้ ดังนั้น การนำไอทีมาใช้ไม่ใช่ยาขม แต่จะใช้ได้อย่างถูกที่ถูกเวลามากน้อยแค่ไหนนั่นเอง

OSI-TCP/IP มีกี่เลเยอร์ แต่ละเลเยอร์อยู่ชั้นไหนที่ตรงกัน

OSI มี 7 เลเยอร์

1.Application Layer
2.Presentation Layer
3.Session Layer
4.Transport Layer
5.Network Layer
6.Data Link Layer
7.Physical Layer

TCP/IP มี 5 เลเยอร์

1.Application Layer
2.Transport Layer
3.Network Layer
4.Data Link Layer
5.Physical Layer


อุปกรณ์บนเครือข่าย

1.การ์ดแลน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมฯเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องโดยผ่านสายแลนการ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถต่อพ่วงกับพอร์ตแทบทุกชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น ISA, PCI,USB, Parallel, PCMCIA และ Compact Flash ซึ่งที่เห็นใช้กันมากที่สุดก็จะเป็นแบบ PCIเพราะถ้าเทียบราคากับประสิทธิภาพแล้วถือว่าค่อนข้างถูก มีหลายราคา ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพันส่วนแบบ USB, Parallel, PCMCIA ส่วนใหญ่จะเห็นใช้กันมากกับเครื่องโน๊ตบุ๊คเพราะก็อย่างที่ทราบกันอยู่ว่าการติดอุปกรณ์ลงในพอร์ตภายใน ของเครื่องโน๊ตบุ๊คเป็นเรื่องยากดังนั้นการต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงจึงต้องอาศัยพอร์ตภายนอกดังที่กล่าวมา
2.ฮับ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ซึ่งลักษณะการทำงาน ให้ลองนึกถึงภาพการออกอากาศโทรทัศน์ที่เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูลเครื่องที่อยู่บนเครือข่ายทุกเครื่องจะได้รับข้อมูลเหมือนๆ กันทุกเครื่องซึ่งเมื่อแต่ละเครื่องได้รับข้อมูลก็จะดูว่า เป็นข้อมูลของตัวเองไหม ถ้าใช่ก็จะรับเข้ามาประมวลผลถ้าไม่ใช่ก็ไม่รับเข้ามา ซึ่งจากากรทำงานในลักษณะนี้ ในเครือข่ายที่ใช้ฮับเป็นตัวกระจ่ายสัญญาณจะสามารถส่งข้อมูลสู่เครือข่ายได้ทีละเครื่อง ถ้ามีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูลเครื่องอื่นๆ ก็ต้องรอให้การส่งข้อมูลเสร็จสิ้นเสียก่อน เมื่อช่องสัญญาณว่าง จึงจะสามารถส่งข้อมูลได้
3.สวิตซ์ สวิตซ์จะทำหน้าที่คล้ายฮับแต่จะเก่งกว่าตรงที่เมื่อมีการร้องขอโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพื่อส่งข้อมูลสวิตซ์ก็จะสร้างวงจรเสมือนขึ้นมาให้เครื่องสองเครื่องนี้ส่งข้อมูลถึงกันซึ่งช่องสัญญาณกลางก็จะว่างไว้รองรับการร้องขอส่งข้อมูลจากเครื่องอื่นๆ ต่อไปถ้านึกภาพไม่ออกให้นึกถึงการทำงานของสายโทรศัพท์ ที่หลายๆ คู่สายสามารถพูดคุยพร้อมๆ กันได้จากคุณลักษณะนี้ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮับเพราะแทบจะไม่มีการรอใช้ช่องสัญญาณเกิดขึ้นในเครือข่ายที่ใช้สวิตซ์เป็นตัวกระจายสัญญาณและแน่นอนราคาของสวิตซ์ย่อมแพงกว่าฮับ
4.โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณให้สามารถส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ สายเช่าและสายไฟเบอร์ออฟติก แล้วแต่ประเภทของโมเด็ม ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกล ยกตัวอย่างเช่นการที่คุณใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์หาไอเอสพีที่อยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร เพื่อจะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
5.เราเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เลือกเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลทำหน้าที่ในการหาเส้นทางที่ดีที่สุดในขณะนั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการล้มเหลวในการส่งข้อมูลและเราเตอร์ยังสามารถช่วยเชื่อมเครือข่ายสองเครือข่าย หรือมากกว่าเข้าด้วยกันเพราะเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานบนเครือข่ายอย่างน้อยสองเครือข่าย
6.Firewall คือ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่องค์กรต่างๆมีไว้เพื่อป้องกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในของตนจากอันตรายที่มาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายนอก เช่น ผู้บุกรุก หรือ Hacker Firewall จะอนุญาตให้เฉพาะข้อมูลที่มีคุณลักษณะตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ผ่านเข้าออกระบบเครือข่ายภายในเท่านั้น อย่างไรก็ดี Firewall นั้นไม่สามารถป้องกันอันตรายที่มาจากอินเทอร์เน็ตได้ทุกรูปแบบ ไวรัสก็เป็นหนึ่งในนั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถรับรองได้ว่าความปลอดภัยหรือความลับของข้อมูลจะมีอยู่ร้อยเปอร์เซนต์ถึงแม้ว่าจะมีการใช้ Firewall แล้วก็ตาม