บทที่2 โปรโตคอลและ IP Address
โปรโตคอล คือระเบียบวิธีการที่กำหนดขึ้นสำหรับสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้ถูกต้อง Connectionless คือมีการส่งข้อมุลที่เร็ว แต่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น จดหมาย อีเมลล์
Connection-oriented คือมีการส่งข้อมูลที่ช้า แต่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า เช่น โทรศัพท์ Fax
IP Address ถูกกำหนดขึ้นมาให้เป็นหมายเลขอ้างอิงประจำตัวของอุปกรณ์ต่างๆที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการกำหนด IP Address ให้แต่ละเครื่องหรืออุปกรณ์นี้จะต้องไม่ซ้ำกัน ซึ่ง IP Address
นี้จะไม่ผูกติดกับตัวฮาร์ดแวร์แต่อย่างใดจึงสามารถกำหนดใหม่หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เช่น รหัสนักศึกษา
รหัสบัตรต่างๆ ที่อยุ่ แตกต่างจาก MAC Address ซึ่งเป็นหมายเลขประจำตัวของอุปกรณ์ที่ต่ออยุ่ในเครือข่ายค่าMAC Address จะถูกกำหนดจากบริษัทผู้ผลิตตั้งแต่เริ่มผลิตเช่นอุปกรณ์ Network Interfece Card
จะมีค่า MAC Address ประจำตัวที่ไม่ซ้ำกันและไม่สามารถแก้ไขได้ เหมือนกับ เลขบัตรประชาชนของเรา
บทที่3 โครงสร้างของโปรโตคอล TCP/IP
โปรโตคอล TCP/IP มีการจัดแบ่งกลไกการทำงานออกเป็นชั้นๆหรือ layer เหมือนกับมาตราฐาน OSI model และสามารถเทียบเคียงกับมาตรฐานของ OSI model ได้ ซึ่งแต่ละ layer ของโปรโตคอล TCP/IP จะประกอบด้วย
- Process layer หรือ Application Layer
- Host-to-Host layer หรือ Transport Layer
- Internetwork layer
- Network Interface layer
26 ธันวาคม 2550
06 ธันวาคม 2550
โปรโตรคอล
1.โปรโตคอล HTTP
โปรโตคอล HTTP พัฒนาโดย W3C และ Internet Engineering Taskforce เป็นโปรโตคอลมาตรฐานตาม RFC2616 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสารข้อมูลบนระบบ WWW โดยมีจุดประสงค์เพื่อรับส่งข้อมูลประเภท HTMLHTTP เป็นโปรโตคอลทำงานในรูปแบบ Request/Response Message ระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอ็นต์ ซึ่งฝั่งไคลเอ็นต์จะเริ่มต้นการติดต่อโดยทำการเปิด TCP ไปยังเซิร์ฟเวอร์ซึ่งรัน HTTP อยู่เช่น พอร์ต 80 โดยเซิร์ฟเวอร์ได้ทำการรันเซอร์วิส ซึ่งอยู่ในสถานะ Listening และพร้อมทำการตอบรับ หลังจากนี้จะมีการแลกเปลี่ยน Request/Response Message กันระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอ็นต์โปรโตคอล HTTP ออกแบบมาเพื่อรับส่งข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text) แต่ระบบสามารถรับรองการส่ง Binary ได้เช่นกันโดยการกำหนด Content-Type และ Content-transfer-encoding
http://campus.en.kku.ac.th/project/2007/coe2007-03/archives/20
2.โปรโตคอล RARP (Reverse Address Resolution Protocol)
โปรโตคอล RARP จะมีการทำงานที่คล้ายคลึงกับโปรโตคอล ARP โดยจะทำงานในลักษณะตรงกันข้าม ด้วยการแปลงหมายเลขแมคแอดเดรสให้เป็นหมายเลขไอพี ซึ่งโปรโตคอล RARP นี้ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่ปราศจากดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ (Diskless Computer) ดังนั้นเวลาบูตเครื่องจึงจำเป็นต้องบูตจากระบบปฏิบัติการเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่าย โดยเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายจะจัดเก็บตารางความสัมพันธ์ระหว่างแมคแอดเดรสกับหมายเลขไอพี โฮสต์ที่ต้องการหมายเลขไอพีจะทำการบรอดแคสต์ RARP Query Packet ที่บรรจุฟิสิคัลแอดเดรสไปยังทุกๆ โฮสต์บนเครือข่าย จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายก็จะจัดการกับ RARP Packet ด้วยการตอบกลับไปด้วยหมายเลขไอพีไปยังโฮสต์นั้น
http://www.burapaprachin.ac.th/network/Page8011.htm
3.โปรโตคอล ICMP (Internet Control Message Protocol)
โปรโตคอล ICMP เป็นกลไกที่ใช้โดยเร้าเตอร์และโหนด เพื่อรายงานความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกลับไปยังโฮสต์ฝ่ายส่งรับทราบ โดยไอพีดาต้าแกรมที่ส่งไปยังเครือข่ายผ่านไปยังเร้าเตอร์ต่างๆ และเร้าเตอร์ไม่สามารถส่งข้อมูลเหล่านั้นไปยังปลายทางได้ เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้น เช่น ไม่พบโฮสต์ที่ปลายทาง ลิงก์เสียหาย หรือดาต้าแกรมหมดอายุขัย (TTL) โปรโตคอล ICMP นี้ก็จะดำเนินการแจ้งข่าวสารกลับไปให้ฝ่ายส่งรับทราบถึงปัญหาดังกล่าว โดยเมสเสจของ ICMP ที่แจ้งกลับไปเพื่อรายงานต่อฝ่ายส่งรับทราบ
http://www.burapaprachin.ac.th/network/Page8011.htm
โปรโตคอล HTTP พัฒนาโดย W3C และ Internet Engineering Taskforce เป็นโปรโตคอลมาตรฐานตาม RFC2616 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสารข้อมูลบนระบบ WWW โดยมีจุดประสงค์เพื่อรับส่งข้อมูลประเภท HTMLHTTP เป็นโปรโตคอลทำงานในรูปแบบ Request/Response Message ระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอ็นต์ ซึ่งฝั่งไคลเอ็นต์จะเริ่มต้นการติดต่อโดยทำการเปิด TCP ไปยังเซิร์ฟเวอร์ซึ่งรัน HTTP อยู่เช่น พอร์ต 80 โดยเซิร์ฟเวอร์ได้ทำการรันเซอร์วิส ซึ่งอยู่ในสถานะ Listening และพร้อมทำการตอบรับ หลังจากนี้จะมีการแลกเปลี่ยน Request/Response Message กันระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอ็นต์โปรโตคอล HTTP ออกแบบมาเพื่อรับส่งข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text) แต่ระบบสามารถรับรองการส่ง Binary ได้เช่นกันโดยการกำหนด Content-Type และ Content-transfer-encoding
http://campus.en.kku.ac.th/project/2007/coe2007-03/archives/20
2.โปรโตคอล RARP (Reverse Address Resolution Protocol)
โปรโตคอล RARP จะมีการทำงานที่คล้ายคลึงกับโปรโตคอล ARP โดยจะทำงานในลักษณะตรงกันข้าม ด้วยการแปลงหมายเลขแมคแอดเดรสให้เป็นหมายเลขไอพี ซึ่งโปรโตคอล RARP นี้ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่ปราศจากดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ (Diskless Computer) ดังนั้นเวลาบูตเครื่องจึงจำเป็นต้องบูตจากระบบปฏิบัติการเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่าย โดยเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายจะจัดเก็บตารางความสัมพันธ์ระหว่างแมคแอดเดรสกับหมายเลขไอพี โฮสต์ที่ต้องการหมายเลขไอพีจะทำการบรอดแคสต์ RARP Query Packet ที่บรรจุฟิสิคัลแอดเดรสไปยังทุกๆ โฮสต์บนเครือข่าย จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์บนเครือข่ายก็จะจัดการกับ RARP Packet ด้วยการตอบกลับไปด้วยหมายเลขไอพีไปยังโฮสต์นั้น
http://www.burapaprachin.ac.th/network/Page8011.htm
3.โปรโตคอล ICMP (Internet Control Message Protocol)
โปรโตคอล ICMP เป็นกลไกที่ใช้โดยเร้าเตอร์และโหนด เพื่อรายงานความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกลับไปยังโฮสต์ฝ่ายส่งรับทราบ โดยไอพีดาต้าแกรมที่ส่งไปยังเครือข่ายผ่านไปยังเร้าเตอร์ต่างๆ และเร้าเตอร์ไม่สามารถส่งข้อมูลเหล่านั้นไปยังปลายทางได้ เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้น เช่น ไม่พบโฮสต์ที่ปลายทาง ลิงก์เสียหาย หรือดาต้าแกรมหมดอายุขัย (TTL) โปรโตคอล ICMP นี้ก็จะดำเนินการแจ้งข่าวสารกลับไปให้ฝ่ายส่งรับทราบถึงปัญหาดังกล่าว โดยเมสเสจของ ICMP ที่แจ้งกลับไปเพื่อรายงานต่อฝ่ายส่งรับทราบ
http://www.burapaprachin.ac.th/network/Page8011.htm
วิเคราะห์ปัญหาของ IT กับธุรกิจของปัจจุบัน
ปัญหาทางด้าน IT ที่มีผลต่อ ธุรกิจในปัจจุบันพูดง่ายๆเลยในชีวิตประจำวันของเราจะมีการติดต่อ กับ เทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา เพราะเหตุนี้เอง เทคโนโลยีจึงมีผลมากในการดำรงชีวิต จนทำให้เกิดผลกระทบตามมาปกติแล้วบริษัทที่เป็นธุรกิจ ขนาดกลางและเล็ก หรือ เอสเอ็มอี ส่วนมาก เมื่อพูดถึงเรื่องการจะนำเอาระบบไอที เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ เจ้าของกิจการ มักถือเป็นเรื่องที่อยากจะหลีกเลี่ยง เมื่อได้รับการร้องขอจากพนักงาน เพราะบริษัทขนาดแบบนี้ มักไม่ค่อยมีเงินทุนมากพอ ที่จะตั้งแผนกไอทีขึ้น ภายในบริษัทของตัวเองได้ แม้ว่าบางบริษัทอาจพอมีผู้ที่รู้เรื่อง เกี่ยวกับไอทีอยู่บ้าง แต่พนักงานเหล่านั้น ก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญมากพอ ที่จะจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อน ของเทคโนโลยีขณะนี้ได้ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจมีความรุนแรงมากขึ้น ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ไม่มีความแน่นอน หลายบริษัทที่เป็นเอสเอ็มอี จำเป็นต้องมองหาทางออกในการต่อสู้กับบริษัทคู่แข่ง การลงทุนด้านไอทีเป็นเรื่องที่มีการพูดมานาน แต่ในประเทศไทยยังมีธุรกิจเอสเอ็มอีใช้ไอทีไม่มากนักแอพลิเคชันที่มีการใช้งานกันอยู่ทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบประชุมร่วมผ่านวิดีโอและการดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต มักมีการใช้งานพร้อมๆ กัน โดยจะมีผลทำให้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ลดลง ดังนั้น จึงควรเลือกพีซีที่มีสมรรถนะมากพอที่จะช่วยให้พนักงานทำงานหลายๆ งานพร้อมกันได้แบบมีประสิทธิภาพ ต้องมีความเสถียรสูง และมีระบบจัดการด้านความปลอดภัย ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม และทำงานร่วมกับระบบไอทีระบบเดิมได้ เพื่อช่วยให้เรียกใช้ข้อมูลเก่าๆ ได้ รวมทั้งระบบไอทีควรมีระบบแบ็คอัพข้อมูลที่ดี เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลสูญหายแต่ในความเป็นจริง สิ่งที่จะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานจะดี หรือรายได้จะเข้าบริษัทมากขึ้น วางแผนระบบไอทีแบบให้สอดคล้องกับธุรกิจ ไม่เช่นนั้น การลงทุนด้านไอที อาจกลายเป็นต้นเหตุของการขาดทุนแบบไม่ได้ตั้งใจได้ ดังนั้น การนำไอทีมาใช้ไม่ใช่ยาขม แต่จะใช้ได้อย่างถูกที่ถูกเวลามากน้อยแค่ไหนนั่นเอง
OSI-TCP/IP มีกี่เลเยอร์ แต่ละเลเยอร์อยู่ชั้นไหนที่ตรงกัน
อุปกรณ์บนเครือข่าย
1.การ์ดแลน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมฯเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องโดยผ่านสายแลนการ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถต่อพ่วงกับพอร์ตแทบทุกชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น ISA, PCI,USB, Parallel, PCMCIA และ Compact Flash ซึ่งที่เห็นใช้กันมากที่สุดก็จะเป็นแบบ PCIเพราะถ้าเทียบราคากับประสิทธิภาพแล้วถือว่าค่อนข้างถูก มีหลายราคา ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพันส่วนแบบ USB, Parallel, PCMCIA ส่วนใหญ่จะเห็นใช้กันมากกับเครื่องโน๊ตบุ๊คเพราะก็อย่างที่ทราบกันอยู่ว่าการติดอุปกรณ์ลงในพอร์ตภายใน ของเครื่องโน๊ตบุ๊คเป็นเรื่องยากดังนั้นการต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงจึงต้องอาศัยพอร์ตภายนอกดังที่กล่าวมา
2.ฮับ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ซึ่งลักษณะการทำงาน ให้ลองนึกถึงภาพการออกอากาศโทรทัศน์ที่เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูลเครื่องที่อยู่บนเครือข่ายทุกเครื่องจะได้รับข้อมูลเหมือนๆ กันทุกเครื่องซึ่งเมื่อแต่ละเครื่องได้รับข้อมูลก็จะดูว่า เป็นข้อมูลของตัวเองไหม ถ้าใช่ก็จะรับเข้ามาประมวลผลถ้าไม่ใช่ก็ไม่รับเข้ามา ซึ่งจากากรทำงานในลักษณะนี้ ในเครือข่ายที่ใช้ฮับเป็นตัวกระจ่ายสัญญาณจะสามารถส่งข้อมูลสู่เครือข่ายได้ทีละเครื่อง ถ้ามีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูลเครื่องอื่นๆ ก็ต้องรอให้การส่งข้อมูลเสร็จสิ้นเสียก่อน เมื่อช่องสัญญาณว่าง จึงจะสามารถส่งข้อมูลได้
3.สวิตซ์ สวิตซ์จะทำหน้าที่คล้ายฮับแต่จะเก่งกว่าตรงที่เมื่อมีการร้องขอโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพื่อส่งข้อมูลสวิตซ์ก็จะสร้างวงจรเสมือนขึ้นมาให้เครื่องสองเครื่องนี้ส่งข้อมูลถึงกันซึ่งช่องสัญญาณกลางก็จะว่างไว้รองรับการร้องขอส่งข้อมูลจากเครื่องอื่นๆ ต่อไปถ้านึกภาพไม่ออกให้นึกถึงการทำงานของสายโทรศัพท์ ที่หลายๆ คู่สายสามารถพูดคุยพร้อมๆ กันได้จากคุณลักษณะนี้ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮับเพราะแทบจะไม่มีการรอใช้ช่องสัญญาณเกิดขึ้นในเครือข่ายที่ใช้สวิตซ์เป็นตัวกระจายสัญญาณและแน่นอนราคาของสวิตซ์ย่อมแพงกว่าฮับ
4.โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณให้สามารถส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ สายเช่าและสายไฟเบอร์ออฟติก แล้วแต่ประเภทของโมเด็ม ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกล ยกตัวอย่างเช่นการที่คุณใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์หาไอเอสพีที่อยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร เพื่อจะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
5.เราเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เลือกเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลทำหน้าที่ในการหาเส้นทางที่ดีที่สุดในขณะนั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการล้มเหลวในการส่งข้อมูลและเราเตอร์ยังสามารถช่วยเชื่อมเครือข่ายสองเครือข่าย หรือมากกว่าเข้าด้วยกันเพราะเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานบนเครือข่ายอย่างน้อยสองเครือข่าย
6.Firewall คือ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่องค์กรต่างๆมีไว้เพื่อป้องกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในของตนจากอันตรายที่มาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายนอก เช่น ผู้บุกรุก หรือ Hacker Firewall จะอนุญาตให้เฉพาะข้อมูลที่มีคุณลักษณะตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ผ่านเข้าออกระบบเครือข่ายภายในเท่านั้น อย่างไรก็ดี Firewall นั้นไม่สามารถป้องกันอันตรายที่มาจากอินเทอร์เน็ตได้ทุกรูปแบบ ไวรัสก็เป็นหนึ่งในนั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถรับรองได้ว่าความปลอดภัยหรือความลับของข้อมูลจะมีอยู่ร้อยเปอร์เซนต์ถึงแม้ว่าจะมีการใช้ Firewall แล้วก็ตาม
2.ฮับ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ซึ่งลักษณะการทำงาน ให้ลองนึกถึงภาพการออกอากาศโทรทัศน์ที่เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูลเครื่องที่อยู่บนเครือข่ายทุกเครื่องจะได้รับข้อมูลเหมือนๆ กันทุกเครื่องซึ่งเมื่อแต่ละเครื่องได้รับข้อมูลก็จะดูว่า เป็นข้อมูลของตัวเองไหม ถ้าใช่ก็จะรับเข้ามาประมวลผลถ้าไม่ใช่ก็ไม่รับเข้ามา ซึ่งจากากรทำงานในลักษณะนี้ ในเครือข่ายที่ใช้ฮับเป็นตัวกระจ่ายสัญญาณจะสามารถส่งข้อมูลสู่เครือข่ายได้ทีละเครื่อง ถ้ามีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูลเครื่องอื่นๆ ก็ต้องรอให้การส่งข้อมูลเสร็จสิ้นเสียก่อน เมื่อช่องสัญญาณว่าง จึงจะสามารถส่งข้อมูลได้
3.สวิตซ์ สวิตซ์จะทำหน้าที่คล้ายฮับแต่จะเก่งกว่าตรงที่เมื่อมีการร้องขอโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพื่อส่งข้อมูลสวิตซ์ก็จะสร้างวงจรเสมือนขึ้นมาให้เครื่องสองเครื่องนี้ส่งข้อมูลถึงกันซึ่งช่องสัญญาณกลางก็จะว่างไว้รองรับการร้องขอส่งข้อมูลจากเครื่องอื่นๆ ต่อไปถ้านึกภาพไม่ออกให้นึกถึงการทำงานของสายโทรศัพท์ ที่หลายๆ คู่สายสามารถพูดคุยพร้อมๆ กันได้จากคุณลักษณะนี้ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮับเพราะแทบจะไม่มีการรอใช้ช่องสัญญาณเกิดขึ้นในเครือข่ายที่ใช้สวิตซ์เป็นตัวกระจายสัญญาณและแน่นอนราคาของสวิตซ์ย่อมแพงกว่าฮับ
4.โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณให้สามารถส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ สายเช่าและสายไฟเบอร์ออฟติก แล้วแต่ประเภทของโมเด็ม ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกล ยกตัวอย่างเช่นการที่คุณใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์หาไอเอสพีที่อยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร เพื่อจะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
5.เราเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เลือกเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลทำหน้าที่ในการหาเส้นทางที่ดีที่สุดในขณะนั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการล้มเหลวในการส่งข้อมูลและเราเตอร์ยังสามารถช่วยเชื่อมเครือข่ายสองเครือข่าย หรือมากกว่าเข้าด้วยกันเพราะเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานบนเครือข่ายอย่างน้อยสองเครือข่าย
6.Firewall คือ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่องค์กรต่างๆมีไว้เพื่อป้องกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในของตนจากอันตรายที่มาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายนอก เช่น ผู้บุกรุก หรือ Hacker Firewall จะอนุญาตให้เฉพาะข้อมูลที่มีคุณลักษณะตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ผ่านเข้าออกระบบเครือข่ายภายในเท่านั้น อย่างไรก็ดี Firewall นั้นไม่สามารถป้องกันอันตรายที่มาจากอินเทอร์เน็ตได้ทุกรูปแบบ ไวรัสก็เป็นหนึ่งในนั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถรับรองได้ว่าความปลอดภัยหรือความลับของข้อมูลจะมีอยู่ร้อยเปอร์เซนต์ถึงแม้ว่าจะมีการใช้ Firewall แล้วก็ตาม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)